วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเภทดอกไม้

ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน

งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาการปฏิบัติกิจกรรม
เสริมประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาล ๑/๑
ผู้วิจัย
ครูปราณี เกตุแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเสรี
ชั้นอนุบาลปีที ๑/๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๗
งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาการปฏิบัติกิจกรรม
เสริมประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาล ๑/๑
ผู้วิจัย
ครูปราณี เกตุแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเสรี
ชั้นอนุบาลปีที ๑/๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๗
โดยได้รับความเห็นชอบจาก
………………………. ประธาน
(ภราดาจักรกรี อินธิเสน)
ประกาศคุณูปการ
วิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดีเพราะได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองของเด็กชายธน
รัตน์ รุจิโรจน์สกุล
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ใหญ่ ภราดา จักรกรี อินธิเสน รองผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ
ระยอง ที่ให้โอกาสในการทำวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ ให้มีคุณประโยชน์แก่การพัฒนาเด็กให้มีความ
พร้อมในด้านต่างๆ ตรงตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการจัดกิจกรรมและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน คุณ
ค่าและประโยชน์ของงานวิจัยฉบับนี้ขอมอบเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่นำไปปฏิบัติกับเด็กที่มีปัญหาให้มี
พัฒนาการในการปรับพฤติกรรมในการมาโรงเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมรุ่งอรุณอย่างมีความสุข เพื่อ
เตรียมความพร้อมด้านวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ การควบคุมตนเอง มีเหตุผลในระดับหนึ่ง
ครูปราณี เกตุแก้ว
ผู้วิจัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเสรี
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
ชื่องานวิจัย การเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาการปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบ
การณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาล ๑/๑
ชื่อผู้วิจัย ครูปราณี เกตุแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเสรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นพัฒนาการการปรับพฤติกรรมจากการฟังโดยใช้
กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเสรี โครงการรักการอ่าน กิจกรรมรุ่งอรุณของนักเรียนชั้น
อนุบาล ๑/๑ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสังเกตประเมินก่อนเล่านิทานและหลังเล่า
นิทาน วิธีดำเนินการในการวิจัยในครั้งนี้ได้ดำเนินการในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ใช้
ระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน ๒๕๔๗ ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ๑๕
นาที และกิจกรรมเสรี ๑๕ นาทีของทุกวัน โครงการรุ่งอรุณ ๑๐ นาที (ทุกวันศุกร์) โครงการรัก
การอ่านยืมหนังสือนิทานกลับบ้าน (จันทร์-พฤหัส) มีการประเมินก่อนและหลังการจัดกิจกรรม นำ
ผลมาหาค่าร้อยละ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล ๑/๑ จำนวน ๓๐ คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. จากการเปรียบเทียบก่อนและหลังในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรม
เสรี ก่อนเล่านิทานและหลังเล่านิทานในการปรับพฤติกรรมการมาโรงเรียน ปรากฏว่า นักเรียนมี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีตามเกณฑ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างเห็นได้ชัดเจน
2. ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง ควรมีการศึกษากรณีศึกษานักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางด้านกล้ามเนื้อและสมาธิจากการทำ IEP ในภาคเรียนที่ ๒ ของเด็กชายพลภูมิ วุ่นสะยุคะ
ต่อไป
แบบฟอร์มรายงานการวิจัยชั้นเรียน ปีการศึกษา 2547
ชื่องานวิจัย การเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาการปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบ
การณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาล ๑/๑
ชื่อผู้วิจัย ครูปราณี เกตุแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเสรี
เค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียน 􀀹 มี ไม่มี
ที่มาความสำคัญของการวิจัย 􀀹 มี ไม่มี
ออกแบบเก็บข้อมูล 􀀹 เสร็จ ไม่เสร็จ
แปลผลและอภิปรายผล 􀀹 เสร็จ ไม่เสร็จ
สรุปเป็นรูปเล่ม 􀀹 เสร็จ ไม่เสร็จ
(ครูปราณี เกตุแก้ว)
ผู้วิจัย
เรื่อง การเล่านิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาการปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของนักเรียน
ชั้นอนุบาล ๑/๑
ความสำคัญ
ในปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีและข่าวสารข้อมูลทำให้โลกไร้พรมแดน สามารถติดต่อ
สัมพันธ์กันได้รวดเร็ว ฉะนั้นการพัฒนาประชากรจึงต้องคำนึงถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของ
สังคมและให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในอนาคต การพัฒนาด้านหนึ่งที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐาน
คือ การรู้จักฟังและสามารถโต้ตอบโดยการสร้างมโนทัศน์จากการฟัง เป็นการพัฒนาทักษะกระบวน
การคิดและการเรียนรู้ในการสื่อสาร ดังที่มีนักการศึกษา เปียเจท์ (Hayaxawa. 1972:146; citing Piaget.
1962. The Language and Thought of the Child) ได้กล่าวไว้ว่า การฟังและการใช้ภาษาเป็นความคิดที่
มีความสัมพันธ์กันการฟัง เมื่อภาษาต้องอาศัยสื่อในการสร้างมโนทัศน์ในการแสดงออกทางด้านภาษา
ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาการ ทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง พูด อ่านและเขียน ที่
พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน สร้างวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ การควบคุมตนเอง มีเหตุผลในระดับ
หนึ่ง
ดังนั้น การฟังนิทานประกอบภาพเป็นทักษะหนึ่งใน 4 ทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่าง
ยิ่งต่อการดำเนินชีวิต จากการฟังการถ่ายทอดความเข้าใจความคิดความรู้สึกและความต้องการโดยผ่าน
สื่อ (การฟังนิทานประกอบภาพ) ในการพัฒนาภาษาควรเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัย เพราะเด็กในวัย 3 – 6 ปี
เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางภาษาและการปรับพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็วในด้านวินัย ความรับผิดชอบ
การควบคุมตนเอง มีเหตุผล จากการฟังนิทานประกอบภาพของเด็กเป็นการปรับพฤติกรรม จากตัว
ละครในเรื่อง ในการใช้เหตุผลของตัวละครที่มีพฤติกรรมในทางลบและทางบวกสอดแทรกให้เด็ก
เรียนรู้จากการฟังและลบล้างทัศนคติที่ไม่ดีลงได้ สร้างภาพพจน์อันพึงประสงค์ในด้านความมีวินัย
ความรับผิดชอบ ควบคุมตนเอง มีเหตุผล ระหว่างบ้านกับโรงเรียนเด็กได้รับรู้ และเข้าใจในกิจกรรมที่
หลากหลาย ในด้านพฤิตกรรมที่ดีของตัวละครในนิทานพื้นฐานจะเปรียบได้กับการฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคต่าง ๆ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในวัยต่อไป ในอนาคตไม่ว่าเด็ก ๆ จะต้องพบกับสภาพของสังคมที่เปลี่ยน
ไปอย่างไร จะสามารถเรียนรู้และเผชิญกับปัญหาได้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมเหล่านั้นได้
สามารถแก้ปัญหาและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข มีวินัย ความรับผิดชอบ ควบคุมตนเองและมี
เหตุผล
จากสภาพปัญหานี้ ผู้วิจัยได้พบเด็กโดยรวมในวัย 3-4 ปี ในระยะแรกในการปรับตัวเข้าเรียนใน
โรงเรียนเด็กๆไม่ได้รับประสบการณ์ในด้านการปรับตัวและการฟังไม่ได้รับการฝึกให้เด็กได้มีเหตุผล
ดังนั้นการนำวิธีการเล่านนิทานประกอบภาพมาปรับพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ ซึ่งเป็นวัยอยากรู้ อยาก
เห็นและสนใจสิ่งรอบ ๆ ตัวตลอดเวลา เพื่อให้เด็กมีแรงจูงใจในการฟังและโต้ตอบจากกระบวนทางคิด
รวบยอดจากการปรับตัวมาโรงเรียน โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้คิดเอง ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วย
ตนเองและมีการติดตามประเมินผลด้วยตนเอง ถือเป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ตอบ
สนองความต้องการความสนใจและความแตกต่าง ระหว่างบุคคลของเด็กซึ่งจะเป็นผลให้เด็กมีความ
สามารถในการปรับตัวพร้อมที่จะฟังและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในชีวิตจริง
ของเด็ก
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานการฟังและการปรับ
ตัวมาโรงเรียน โดยใช้กิจกรรมการฝึกการฟังจากการเล่นนิทานประกอบภาพ โครงการรักการอ่าน กิจ
กรรมรุ่งอรุณ และประเมินผลโดยการประเมินตามสภาพจริง เพื่อให้เด็กมาโรงเรียนอย่างมีความสุข มี
วินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ การควบคุมตนเองและมีเหตุผล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาขั้นพัฒนาการปรับตัวและการฟังของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย
สมมติฐานการวิจัย
เพื่อปรับพฤติกรรมให้เด็กมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ ควบคุมตนเอง มีเหตุผลในตน
เอง หลังจากการได้รับการปรับพฤติกรรมจากการฟังนิทานประกอบภาพ โครงการรักการอ่าน และกิจ
กรรมรุ่งอรุณ
ประโยชน์ของการวิจัย
1. เพื่อให้เด็กชายธนรัตน์ รุจิโรจน์สกุล ปรับพฤติกรรมการมาโรงเรียนอย่างมีความสุข
2. เพื่อให้เด็กชายธนรัตน์ รุจิโรจน์สกุล ปรับพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับเพื่อน
และกล้าแสดงออกได้เหมาะสมกับวัย
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร นักเรียนชั้นอนุบาล ๑/๑ จำนวน ๓๐ ตน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดประสบการณ์สอนโดยการเล่านิทานประกอบภาพ
โครงการรักการอ่าน และกิจกรรมรุ่งอรุณ
- ตัวแปรตาม ได้แก่ นักเรียนมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ การควบคุมตน
เอง และมีเหตุผลในตนเอง หลังจากได้รับการจัดเสริมประสบการณ์จากการฟัง
นิทานประกอบภาพ และกิจกรรมต่าง ๆ
กรอบแนวคิดในการวิจัย
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
1. นิทานประกอบภาพ หมายถึง การนำหนังสือนิทานประกอบภาพมาเล่าให้เด็กฟังใน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2. กิจกรรมรุ่งอรุณ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กในตอนเช้าหลังเคารพธงชาติ สวดมนต์
และเต้นออกกำลังกายจะมีกิจกรรมแต่ละวันดังนั้น
1. วันจันทร์ กิจกรรมอบรม
ก่อนเล่านิทาน
- หลังเล่านิทาน
ประกอบภาพ
- โครงการรักการอ่าน
- กิจกรรมรุ่งอรุณ
การรับรู้วินัยในตนเอง
ของเด็กปฐมวัย
ความรับผิดชอบ
การควบคุมตนเอง
ความมีเหตุผล
2. วันอังคาร กิจกรรมเล่นคณิตศาสตร์สลับเกมภาษาไทย
3. วันพุธ กิจกรรมร้องเพลง
4. วันพฤหัส กิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ดสลับมารยาทไทย
5. วันศุกร์ กิจกรรมเล่านิทานประกอบการแสดงสลับกับการทายปัญหา
3. โครงการรักการอ่าน หมายถึง กิจกรรมที่ครูจัดหนังสือนิทานให้เด็กยืมไปให้คุณพ่อ
คุณแม่เล่าให้ฟังที่บ้าน สัปดาห์ละ 4 วัน
4. จำนวนเด็กอนุบาล ๑/๑ หมายถึง เด็กชายอายุตั้งแต่ ๓-๔ ปี อยู่ในระดับอนุบาล ๑
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
จากสภาพความเป็นจริงของเด็กปฐมวัยในวันเข้าเรียนในวันแรกของเด็กทุกสถานที่ที่เป็นโรง
เรียนระดับปฐมวัยในวันนั้นเสียงร้องไห้กับวันเปิดเทอมเป็นของคู่กัน เจ้าตัวเล็กทั้งหลายจะแผลงฤทธิ์
ทุกกระบวนการที่พ่อแม่จากไปขณะที่ตนเองต้องอยู่กันคุณครู (ใครก็ไม่รู้ไม่คุ้นเคย) วันที่ 1 , วันที่ 2 ก็
ผ่านไป เด็กจะคิดแผนต่าง ๆ เพื่อไม่ต้องไปโรงเรียนและนานวันเข้าแผนการต่าง ๆ เริ่มล้ำลึกขึ้นเรื่อย ๆ
บางรายถึงขั้นสั่งให้ตนเองป่วยขณะตื่นนอนเตรียมตัวมาโรงเรียน เพื่อจะได้นอนและวิ่งเล่นอยู่กับบ้าน
ไม่ต้องไปโรงเรียน สิ่งเหล่านี้เด็กจะปรับพฤติกรรมได้จะต้องให้เวลาและจัดกิจกรรมประจำวันให้
เหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็กในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ดีที่สำคัญเด็ก
สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นการฝึกหรือการสร้างเสริมวินัยในตนเองให้กับ
เด็กในวัน 3 – 6 ปี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
การปลูกฝังวินัยให้กับเด็กปฐมวัยให้รู้จักหน้าที่การมาโรงเรียนการฟังผู้อื่นและการปฏิบัติกิจ
กรรมต่าง ๆ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยความมั่นใจ สิ่งที่สามารถสร้างความสนใจให้ความรู้ความ
เข้าใจและการลงมือปฏิบัติปรับพฤติกรรมโดยการใช้การเล่านิทานประกอบภาพมาช่วยปรับพฤติกรรม
ให้เด็กอย่างสม่ำเสมอในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมรุ่งอรุณ และกิจกรรมโครงการรัก
การอ่าน เด็กมีส่วนร่วมและได้รับการปฏิบัติจริง ดังงานวิจัยของจันทร์ดี ถนอมคล้าย (2539 : 45 –
56) ได้ให้การเล่านิทานประกอบหุ่นมือ โดยการใช้คำถามก่อนเล่าและการทดลองเล่านิทานเพื่อ
พัฒนาความอดทนของเด็กปฐมวัยที่มีสติปัญญาแตกต่างกัน พบว่า เด็กที่ได้ฟังการเล่านิทานมีความ
สามารถพัฒนาในด้านต่าง ๆ สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ฟังนิทานและงานวิจัยของทัศนีย์ อินทรบำรุง (2539 :
40 – 44) ได้ศึกษาการจัดกิจกรรมการเล่านิทานก่อนกลับบ้านเป็นนิทานที่แต่งขึ้นโดยมีเนื้อเรื่องใน
การสร้างวินัยเพื่อส่งเสริมการฟังและการปฏิบัติตนเองในด้านความมีวินัย พบว่า เด็กที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเล่านิทานก่อนกลับบ้านมีวินัยในการปฏิบัติกิจกรรมได้สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการฟังนิทาน
ก่อนกลับบ้าน ดังนั้นการฟังนิทานเป็นกิจกรรมที่เด็กทุกคนสนใจและชอบมากทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติ
กรรมในการฟังและการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องสามารถปรับตัวมาโรงเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ใน
กิจกรรมประจำวันได้อย่างมีความสุข
วิธีดำเนินการวิจัย
1. นวัตกรรมที่เลือกใช้
1.1 แผนการจัดประสบการณ์และกิจกรรมเสรี
1.2 หนังสือนิทานประกอบภาพ
1.3 โครงการรักการอ่าน
1.4 กิจกรรมรุ่งอรุณ
2. เหตุที่เลือกใช้นวัตกรรม
การสอนให้เด็กเกิดวินัยในตนเองนั้น เป็นเรื่องที่อาศัยเวลาและความมั่นใจ นอกจากการ
เล่านิทานให้เด็กเข้าใจและการได้ลงมือปฏิบัติแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งของการสอนคือการ
ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กได้เลียนแบบเด็กจะได้รับการฝึกซ้ำ ๆ จนเกิดวินัยกับเด็กด้วยความรู้สึก
ของการสร้างแนวทางที่เหมาะสมปรับให้เด็กไปในทิศทางที่ถูกต้องไม่ใช่การลงโทษ วินัยที่ได้ในช่วงนี้
จะเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติตามระเบียบผลที่ตามมาเป็นการสร้างวินัย ความรับผิดชอบ การควบ
คุมตนเอง มีเหตุผลที่ค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ ซึมซาบจนกลายเป็นพฤติกรรมในที่สุด การฟังนิทาน
ประกอบภาพเป็นสื่อหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของเด็กการใช้
คำอธิบายประกอบการเล่าและแสดงบทบาทสมมติ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องบอกให้เด็กรู้เสมอ เพราะ
การสร้างวินัยความรับผิดชอบ ควบคุมตนเอง มีเหตุผล ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดโดยตามธรรมชาติ แต่
เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคม เมื่อเด็กทำสิ่งที่ดีหรือประพฤติตนตาม
ลักษณะอันพึงประสงค์เหมาะสมกับวัยได้ต้องชมเชยให้กำลังใจจะช่วยให้เด็กปฏิบัติตนได้ดีขึ้น
3. ขั้นตอนการใช้นวัตกรรม
เด็กมาโรงเรียนในเดือนพฤษภาคมในสัปดาห์ ๑ และสัปดาห์ที่ ๒ จำนวน ๓๐ คน
ร้องไห้มาโรงเรียนและไม่ชอบเข้าแถว ครูเล่านิทานประกอบภาพในกิจกรรมวงกลมและกิจกรรมเสรี
เกี่ยวกับความมีวินัย ความรับผิดชอบ การควบคุมตนเองและการมีเหตุผลในการมาโรงเรียน การอยู่
ร่วมกับเพื่อนการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กฟังและประกอบกับกิจกรรมรุ่งอรุณที่มีการเล่านิทาน
ประกอบการแสดงของครูและเด็ก ให้เด็กฟังทุกวันศุกร์ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗ เด็กมาโรงเรียนไม่
ร้องไห้ จำนวน ๑๕ คน ส่วนที่เหลือยังมีร้องไห้ไม่เข้าแถว ไม่ออกกำลังกาย ไม่ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗ ครูจัดทำโครงการรักการอ่านให้เด็กยืมหนังสือกลับไปบ้านให้คุณพ่อคุณ
แม่อ่านให้ฟัง หลังจากการปฏิบัติการใช้นวัตกรรมได้บันทึกพัฒนาการโดยการสังเกต ด.ช.ธนรัตน์ รุจิ
โรจน์สกุล และเด็กชายพลภูมิ วุ่นสะยุคะ ปรับพฤติกรรมมาโรงเรียนได้ตามลำดับ ซึ่งยังไม่ผ่าน
ลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์คุณภาพ (Rubric)
4. สภาพหลังการใช้นวัตกรรม
เปรียบเทียบผลการพัฒนาของเด็กจากการปฏิบัติ เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ๒๕๔๗
จำนวนเด็ก ก่อนฝึก ขณะฝึก หลังฝึก
เด็กอนุบาล ๑/๑
จำนวน ๓๐ คน
- ร้องไห้มาโรงเรียน
ในสัปดาห์แรก
ของเดือน
พฤษภาคม
๒๕๔๗
- ฟังนิทานประกอบ
ภาพ
- สนใจภาพ
- ฟังได้ 3-5 นาที
- ต้องใช้เสียงเล่าให้
เด็กสนใจ
- เด็กบางคนสนใจ
- เด็กบางคนตอบ
คำถาม
- เด็กบางคนฟังได้
นานขึ้น
สรุปในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗ - กรกฎาคม ๒๕๔๗ เด็กปรับพฤติกรรมได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ในเดือนพฤษภาคม ยังคงเหลือเด็กชายธนรัตน์ รุจิโรจน์สกุลและเด็กชายพลภูมิ วุ่นสะยุคะ ยังปรับ
ตัวได้ไม่สม่ำเสมอ จะมีพฤติกรรมร้องไห้มาโรงเรียนทุกวันจันทร์หรือสัปดาห์ที่มีวันหยุดหลายวัน คุณ
ครูได้ติดต่อกับผู้ปกครองของเด็กทั้ง ๒ คน ซึ่งในกรณีของเด็กชายธนรัตน์ รุจิโรจน์สกุล นั้นมีปัญหา
ไม่อยากมาโรงเรียนเพราะมีน้องเล็กอยู่กับคุณยาย ซึ่งเด็กชายธนรัตน์ รุจิโรจน์สกุล มีความรู้สึกว่า
ทำไมตนเองต้องมาโรงเรียนด้วย ทำไมน้องไม่ต้องมาโรงเรียน อยู่บ้านกับยายได้ (สอบถามจากผู้ปก
ครอง) ทราบปัญหาของน้องอีกขั้นตอนหนึ่งและได้สนทนากับผู้ปกครองในการเล่านิทานที่น้องยืมไปที่
บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเล่าให้ฟัง ครูได้แนะนำการเล่านิทานโดยแทรกพฤติกรรมที่ควรปรับให้น้องได้
เห็นเป็นรูปธรรมที่เกี่ยวกับตัวเด็กด้วย เด็กจะได้ปรับพฤติกรรมและเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องอย่างมีเหตุผล
ส่วนเด็กชายพลภูมิ วุ่นสะยุคะ เป็นเด็กสมาธิบกพร่อง ซึ่งครูได้ทำรายงานกรณีศึกษากับน้องโดยได้
รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญในการฝึกเด็กชายพลภูมิ วุ่นสะยุคะ โดยเฉพาะโดยจัด
ทำ IEP (Individualized Education Plan) สำหรับน้องเฉพาะการฝึกพัฒนาการทางด้านสังคมและ
กล้ามเนื้อมัดใหญ่ประสานสัมพันธ์กับตา
เปรียบเทียบผลการพัฒนาของเด็กจากการปฏิบัติเดือนสิงหาคม-กันยายน ๒๔๕๗
รายการ ก่อนฝึก ขณะฝึก หลังฝึก
ในเดือนสิงหาคม
- เดือนกันยายน ๒๕๔๗
เด็กชายธนรัตน์ รุจิ
โรจน์สกุลและเด็กชาย
พลภูมิ วุ่นสะยุคะ
- ยังไม่ปรับตัวใน
การมาโรงเรียน
- มาโรงเรียนสาย
- ให้คุณพ่ออุ้มมาส่ง
- ร้องไห้จะต้องยืน
กับคุณครูด้านหน้า
แถวทุกครั้งที่มาโรง
เรียน
- จะร้องไห้เมื่อมีวัน
หยุดหลายวัน
- ฟังนิทานประกอบ
ภาพ
- ฟังได้จนจบเรื่อง
- ตอบคำถามได้
- ยืมนิทานกลับบ้าน
- มาโรงเรียนดี
- ฟังนิทานในวันศุกร์
ทุกสัปดาห์
- มาเข้าร่วมกิจกรรม
โครงการรุ่งอรุณ
จากการแสดง
ประกอบการเล่า
นิทาน
- มีความสุขในการ
มาเรียน
- ตอบคำถามได้
- มีความพร้อมใน
การมาโรงเรียน
- มีความรับผิดชอบ
ในการยืมและส่ง
หนังสือในโครงการ
รักการอ่าน
5. เกณฑ์คุณภาพ (Rubric)
ดี รู้จักระเบียบวินัย รับผิดชอบ สามารถควบคุมตนเองและกล้าแสดงออก
ปานกลาง รู้จักระเบียบวินัย รับผิดชอบ สามารถควบคุมตนเองและกล้าแสดงออก
ได้บางครั้ง
ปรับปรุง ยังไม่รู้จักระเบียบวินัย ไม่รับผิดชอบ ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่กล้าแสดงออก
ข้อสังเกตหลังการใช้นวัตกรรมจากแบบสังเกตตามเกณฑ์
1. มีความพร้อมในการมาโรงเรียนอย่างมีความสุขตามเกณฑ์
ดี = 86.67 ปานกลาง = 13.33 ปรับปรุง -
2. มีวินัยและรับผิดชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์
ดี = 66.67 ปานกลาง = 20.00 ปรับปรุง 13.33
3. ควบคุมตนเองในการเข้าร่วมกิจกรรมวงกลมตามเกณฑ์
ดี = 6.67 ปานกลาง = 13.33 ปรับปรุง -
4. ตอบคำถามได้ตามเกณฑ์
ดี = 93.33 ปานกลาง = 6.67 ปรับปรุง -
5. ปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนได้ตามเกณฑ์
ดี = 60.00 ปานกลาง = 33.33 ปรับปรุง 6.67
6. รับผิดชอบในการยืม-ส่งนิทานในโครงการรักการอ่านได้สม่ำเสมอตามเกณฑ์
ดี = 83.33 ปานกลาง = 16.67 ปรับปรุง -
7. มีความสุขในการมาเรียนตามเกณฑ์
ดี = 93.33 ปานกลาง - ปรับปรุง 6.67
8. เข้าร่วมกิจกรรมรุ่งอรุณในโครงการแสดงนิทานประกอบการแสดงตามเกณฑ์
ดี = 96.67 ปานกลาง - ปรับปรุง -
9. กล้าแสดงออกที่จะร่วมกิจกรรมบนเวทีในกิจกรรมรุ่งอรุณตามเกณฑ์
ดี = 40.00 ปานกลาง = 40.00 ปรับปรุง 20.00
10. เด็กอยู่ร่วมกับเพื่อนได้ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนตามเกณฑ์
ดี = 90.00 ปานกลาง = 10.00 ปรับปรุง -
สรุปจากแบบสังเกตตามเกณฑ์คุณภาพ (Rubric) โดยรวมหลังจากเล่านิทานในกิจกรรมวงกลม
และกิจกรรมเสรี โครงการรักการอ่าน กิจกรรมรุ่งอรุณ เด็กสามารถปรับพฤติกรรมได้ดีตามเกณฑ์สูง
กว่าด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 96.67 ในกิจกรรมรุ่งอรุณที่มีการแสดงประกอบการเล่านิทาน ซึ่งเป็น
รูปธรรมที่เด็กสนใจได้ดี ส่วนด้านอื่น ๆ ที่ยังต้องปรับปรุง คือ ด้านการมีส่วนร่วมแสดงบนเวที การมี
วินัยและรับผิดชอบในการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียนและมีความสุขใน
การมาเรียน ซึ่งส่วนนี้ยังมีเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมด้านร่างกายและอารมณ์ (ด.ช.พลภูมิ วุ่นสะยุ
คะ) ซึ่งครูต้องจัดทำกรณีศึกษาโดยจัดทำ IEP ให้กับเด็กชายพลภูมิ วุ่นสะยุคะ ในภาคเรียนที่ ๒ เพื่อ
พัฒนาพฤติกรรมความสามารถตามเกณฑ์ลักษณะอันพึงประสงค์ของการประเมินในระดับปฐมวัย